กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการและสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ให้การต้อนรับคุณกัญจนา ศิลปอาชา

และคณะเข้าตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงช้าง อำเภอท่าตูม และอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

1

 

กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการและสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ให้การต้อนรับคุณกัญจนา ศิลปอาชา และคณะเข้าตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงช้าง อำเภอท่าตูม และอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 19 กันยายน 2566

         นายสมเกียรติ พันธ์ศรี ผู้อำนวยการกองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ มอบหมายให้ นายฉัตรชัย ประทุมมาลย์ ผู้อำนวยการคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการและนายสัตวแพทย์เพิ่มศิลป์ บุญน้อมกลุ่มคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ เข้าร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ โดย นายสัตวแพทย์อภิชัย นาคีสังข์ ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ นายสัตวแพทย์จรูญวิทย์ นะพรรัมย์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ นายเผ่าพันธุ์ จิรเศรษฐเมธากุล ปศุสัตว์อำเภอชุมพลบุรี นายสัตวแพทย์ธนาสิน ภักดีโต ปฏิบัติงานแทนปศุสัตว์อำเภอท่าตูม ร่วมกับนายกรัณย์พล แสงทอง ผู้อำนวยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสุรินทร์ พ.ต.อ วรพงศ์ มดทอง ผู้กับกับ สภ. ชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ นางสาววันเพ็ญ หาญเสมอ นายอำเภอชุมพลบุรี นายกรีติคุณ กรีธาพล ปฏิบัติงานแทนผู้จัดการโครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์และนายณัฐพล บางแก้ว นายสัตวแพทย์ 4 โครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์

     เข้าร่วมตรวจเยี่ยมสวัสดิภาพของช้าง 3 เชือก คือ พลายทองใบ ในโครงการคชศึกษาและ พลายสังคม ในโครงการคชอาณาจักร และอีก 1 เชือก คือ พังน้ำทิพย์ ที่เคยตกเป็นข่าวมีการพาช้างไปเดินเร่ร่อนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา และถูกดำเนินคดีไปแล้วนั้น

   จากการตรวจเยี่ยมพบว่าสุขภาพของช้างทั้ง 3 ตัวมีสุขภาพที่ดีขึ้น จากการประสานงานของปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ในการดูแลสุขภาพช้าง และผลการปฏิบัติงาน สร้างความพึงพอใจของท่านกัญจนา ศิลปอาชา เป็นอันมาก

   ทั้งนี้ผู้แทนกองสวัสดิภาพสัตว์ฯได้นำเรียน ท่านกัญจนา ศิลปอาชา ทราบในส่วนปัญหาการพาช้างออกมาเร่ร่อน นั้นเป็นปัญหาระดับวิถีชาวบ้าน ซึ่งจะไม่สอดคล้องกับแนวทางการจัดสวัสดิภาพสัตว์ตามที่ปัจจุบันมีการกระทำผิดกันอยู่ โดยเฉพาะในเรื่องปากท้องประชาชน ที่เป็นต้นเหตุของปัญหา เพราะคนเลี้ยงช้างต้องอาศัยช้างในการเร่หารายได้   และการจับกุมดำเนินคดีช้างเร่ร่อนเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้นไม่เกิดความยั่งยืน พิจารณาให้ความช่วยเหลือในส่วนการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในเรื่องการสร้างงานสร้างอาชีพให้เหมาะสมให้ดำเนินควบคู่ไปกับการจัดสวัสดิภาพช้างต่อไป